โปรแกรมอุบลโมเดลพลัส (Ubon Sustainability Program)

เราให้ความสำคัญกับการช่วยเหลือเกษตรกรในชุมชน โดยส่งเสริมการเกษตรแบบยั่งยืน ที่สร้างผลกระทบเชิงบวกช่วยเหลือเกษตรกร และปกป้องสิ่งแวดล้อมเพื่ออนาคตที่ดีขึ้น

4,703
ราย
เราสนับสนุนเกษตรกรด้วยการเกษตรที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม
20+
ชั่วโมง
เราทำงานร่วมกับเกษตรกรในพื้นที่เพื่อถ่ายทอดความรู้และจัดอบรมเชิงปฏิบัติการในด้านเกษตรกรรมที่ได้มาตรฐาน
10+
โครงการ
เราลงทุนในโครงการชลประทานเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในพื้นที่ที่ประสบภัยแล้ง

กระบวนการผลิตแบบ Closed Loop Production

โดยสามารถนำน้ำเสียและกากมันสำปะหลังซึ่งเป็นผลพลอยได้ จากกระบวนการผลิตแป้งมันสำปะหลัง ไปเป็นวัตถุดิบในการผลิตก๊าซชีวภาพ ซึ่งมีทั้งสิ้น 3 ระบบ ดังนี้

ระบบ Upflow Anaerobic Sludge Blanket (UASB)
รับน้ำเสียจากโรงผลิตแป้งมันสำปะหลังปริมาตร
5,000 ลบ.ม. / วัน
Cover Lagoon Bio Reactor (CLBR)
รับกากมันสำปะหลังจากโรงผลิตแป้งมันสำปะหลัง และ
โรงผลิตเอทานอล 840 ตัน / วัน
และยังรับน้ำเสีย จากโรงผลิตแป้งมันสำปะหลังอีก 5,000 ลบ.ม. / วัน
ระบบ Activated Sludge Treatment (AS)
รองรับน้ำเสียจากโรงงานแป้งมันสำปะหลังที่ผ่านสู่ระบบ UASB (Upflow Anaerobic Sludge Blanket) และระบบ CLBR (Covered Lagoon Bio Reactor) มาบำบัดต่อ ใช้วิธีการเลียนแบบธรรมชาติด้วยการใช้จุลินทรีย์ และเติมอากาศ

“ก๊าซชีวภาพที่ผลิตได้ จะ ถูกนำไปใช้ประโยชน์”

ใช้เป็นเชื้อเพลิงในหม้อต้มน้ำ (Boiler) ของโรงแป้งมันสำปะหลังและโรงเอทานอล
ผลิตไฟฟ้า ขนาด 1.9 เมกะวัตต์ จำหน่ายให้แก่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
ผลิตไฟฟ้า ขนาด 5.6 เมกะวัตต์ ใช้ภายในกิจการของกลุ่มบริษัทฯ

การทำงานในภาครัฐและชุมชน

ความรู้
เทคโนโลยี
ปัจจัยการผลิต
งบประมาณ

เกษตรกรรมที่ยั่งยืน

เพิ่มผลผลิต
ลดต้นทุน

คุณค่าที่มากกว่า เพื่อสร้างอนาคตที่ยั่งยืน

E: สิ่งแวดล้อม
แนวปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อม:
มุ่งสู่การบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี พ.ศ.
2593
การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก: CFO
การลดของเสียให้เป็นศูนย์:
การใช้พลังงานหมุนเวียน
โครงการ
โซลาร์เซลล์ลอยน้ำ
โครงการ
บำบัดน้ำเสีย

(MUR/UASB/CLBR/AS/oxidation Pond)

โครงการ UBEYOND CARE ใส่ใจโลกด้วย 8R

บริษัทฯ ได้จัดทำ "โครงการ UBEYOND CARE ใส่ใจโลกด้วย 8R" เพื่อปลูกจิตสำนึกให้กับพนักงาน ซึ่งถือเป็นกำลังสำคัญของการขับเคลื่อนการเติบโตขององค์กร บริษัทฯ ได้กำหนด ค่านิยมขององค์กร “UBEYOND” (ยู-บียอนด์*) เพื่อให้สอดคล้องกับค่านิยมองค์กร บริษัทฯ จึงได้เริ่มโครงการในปี 2567 เพื่อสร้างความตระหนัก นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของพนักงานในองค์กรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นำไปสู่การลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร

การคิดใหม่
การปฏิเสธ
การใช้ซ้ำ
การลดการใช้
การซ่อมแซม
การส่งต่อ
การรีไซเคิล
การนำกลับมาใช้
S: สังคม
แนวปฏิบัติด้านสังคม:
ชุมชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
Stem bank:
โครงการสนับสนุนเกษตรกรด้วยการส่งต่อพันธุ์มันสำปะหลัง
Ube care:
โครงการมอบทุนการศึกษาให้บุตรหลานของพนักงาน
Cassava club:
โครงการสอนเยาวชนเกี่ยวกับมันสำปะหลังออร์แกนิค ความยั่งยืน การทำเกษตรอินทรีย์ และการใช้ปุ๋ยออร์แกนิค (BIO HUB)
โครงการอุบลโมเดลพลัส:

สนับสนุนเกษตรกรด้วย

การใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน

เพื่อการทำไร่มันสำปะหลังออร์แกนิค โดยร่วมมือกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม

BIO FARM (แอปพลิเคชันอุบล): แอปพลิเคชันสำหรับบันทึกกิจกรรมการเกษตรเพื่อให้สามารถตรวจสอบและติดตามได้ โดยเริ่มต้นโครงการในปี 2566 มีเกษตรกรเข้าร่วมจำนวน 36 ราย และในปี 2567 เพิ่มเป็น 400 ราย

พื้นที่และเกษตรกรในโครงการอุบลโมเดลพลัส
พื้นที่เพาะปลูก
8,808
เฮกตาร์
เกษตรกร
3,662
ราย
ประเทศไทย:
อุบลราชธานี:
917
ราย
(1,335 เฮกตาร์)
ยโสธร:
224
ราย
(245 เฮกตาร์)
อำนาจเริญ:
119
ราย
(128 เฮกตาร์)
ลาว:
อุบลราชธานี:
917
ราย
(1,335 เฮกตาร์)
ยโสธร:
224
ราย
(245 เฮกตาร์)
อุบลโมเดลพลัส

โครงการนี้จัดขึ้นเพื่อฝึกอบรมการปลูกมันสำปะหลัง โดยได้คัดเลือกเกษตรกรต้นแบบจำนวน 200 คน จากผู้สมัครกว่า 1,200 คน เพื่อเข้าร่วมโปรแกรมครั้งนี้ เป้าหมายของโครงการคือการเพิ่มผลผลิตต่อพื้นที่ให้สูงขึ้น และส่งเสริมให้เกษตรกรต้นแบบที่ผ่านการอบรม สามารถถ่ายทอดความรู้และทักษะที่ได้รับไปยังสมาชิกคนอื่นในชุมชนต่อไป

ให้ความรู้เชิงลึกแก่เกษตรกรเกี่ยวกับระบบ ICS
แต่งตั้งหรือมอบหมายหน้าที่ให้ผู้ตรวจสอบตัวแทนในกลุ่มสมาชิกอย่างเหมาะสมและเป็นระบบ
มีผู้เชี่ยวชาญ CMD ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับกระบวนการคัดกรองและติดตามผล
G: การกำกับดูแล
แนวปฏิบัติด้านการกำกับดูแล:
CGR Rating ระดับ 5 ดาว
(‘Excellent CG Scoring’)
SET ESG Ratings ระดับ ‘A’
ได้รับการรับรองการเป็นสมาชิกแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย (CAC) ครั้งที่ 2
ผ่านการตรวจประเมินและรับรองโดย Sedex SMETA
มีช่องทางสำหรับแจ้งเบาะแสการทุจริต

“อนาคตแห่งความยั่งยืนที่เกษตรกรมีพลังในการขับเคลื่อน และโลกดำรงสมดุลอย่างมั่นคง”